วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต

การค้นพบและลักษณะรูปร่างของเซลล์สิ่งมีชีวิต

การค้นพบเซลล์สิ่งมีชีิวิต

















อันตน  ฟัน เลเวนฮุก   (Anton  Van  Leewenhock)
นักวิทยาศาสตร์ชาวดัทซ์   เป็นผู้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์เป็นคนแรก  คือ  อันตน  ฟัน  
เลเวนฮุก   (Anton  Van  Leewenhock)  เขาใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูหยดน้ำ  ทำให้
ค้นพบสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเป็นครั้งแรก



























รอเบิรต์ฮุก (Robert  Hooke)
พ.ศ.  2208  รอเบิรต์  ฮุก  (Robert  Hooke) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์
กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูงประมาณ  270  เท่า มาใช้ศึกษาชิ้นไม้คอร์ก
ที่ผ่านเป็นแผ่นบาง ๆ พบว่าชิ้นไม้คอร์กประกอบไปด้วยช่องขนาดเล็กมากมายเรียงติดกัน  ช่องเหล่านี้มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมเกือบกลม  เขาเรียกแต่ละช่องนั้นว่า   เซลล์  ( cell)   ซึ่งแปลว่า  ห้องว่าง





















ดิวโทรเชท์  (Dutrochet)
พ.ศ.  2367  ดิวโทรเชท์  (Dutrochet)   นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศส
ได้ศึกษาเนื้อเยื่อพืช  และสัตว์พบว่าประกอบไปด้วยเซลล
























รอเบิรต์  บราวน์  ( Robert  Brown)
พ.ศ.  2374  รอเบิรต์  บราวน์  ( Robert  Brown)  นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษศึกษาเซลล์พบก้อนกลมเล็ก ๆ อยู่ตรงกลางเซลล์พืช  เรียกก้อนกลมนั้นว่า  นิวเคลียส



























มัดทิอัส  ยาคบ  ชไลเดน ( Matthias  Jakob  Schleiden)
พ.ศ.  2381  มัดทิอัส  ยาคบ  ชไลเดน ( Matthias  Jakob  Schleiden)  นักพฤกษศาสตร์ชาว เยอรมัน  ค้นพบว่าเนื้อเยื่อพืชทุกชนิดประกอบไปด้วยเซลล



















เทโอดอร์  ชวานน์  (Theoder  Schwann)
 พ.ศ.  2382   เทโอดอร์  ชวานน์  (Theoder  Schwann)  นักสัตวศาสตร์ชาวเยอรมันพบว่า เนื้อเยื่อสัตว์ทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์
               
               ชวานน์และชไลเดน  จึงรวมกันตั้งทฤษฏีเซลล์ขึ้นมาซึ่งมีใจความสำคัญว่า “ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบด้วยเซลล์  และเซลล์คือหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด


ลักษณะรูปร่างของเซลล์สิ่งมีชีวิต

CssTemplatesWeb.com



















สิ่งมีชีวิตทุกชนิดไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ตาม  จะประกอบด้วยหน่วยที่เล็กที่สุด  แต่มีความสำคัญต่อชีวิตมากที่สุดเรียกว่า  เซลล์  (Cell )
เซลล์  (Cell )   คือ  หน่วยเล็ก ๆ ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นส่วนประกอบพื้นฐานที่สำคัญ
ของสิ่งมีชีวิต  เซลล์ของสิ่งมีชีวิตอาจมีรูปร่างและส่วนประกอบที่แตกต่างกัน
เพื่อความเหมาะสมกับหน้าที่การงาน

สิ่งมีชีวิตมีทั้งสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์เซลล์ของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้
จะมี ลักษณะและรูปร่างแตกต่างกัน ดังนี้

1. สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์เพียงเซลล์เดียว   เรียกว่า   สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว  สิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีขนาดเล็กมาก  มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น  การศึกษาต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดู  สามารถทำกิจกรรมทุกอย่างที่สิ่งมีชีวิตทั่ว ๆ ไปทำได้   เช่น  เคลื่อนไหว  กินอาหาร  สืบพันธุ์  เช่น
1.1   อะมีบา    รูปร่างไม่แน่นอน  เคลื่อนที่โดยใช้ ขาเทียม

















1.2   พารามีเซียม   รูปร่างเรียวยาว  คล้ายรองเท้าแตะ  มีขนรอบ ๆ  ตัว  และใช้ขนในการเคลื่อนที่

















1.3   ยูกลีนา   รูปร่างรียาว  มีแฟลกเจลลา  ( แส้) อยู่บริเวณด้านบนซึ่งใช้ในการเคลื่อนที่






























2.   สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์หลายเซลล์  มารวมกันเป็นรูปร่างโดยแต่ละเซลล์จะมีรูปร่างและหน้าที่แตกต่างกันแต่มีการทำงาน
ประสานกันของเซลล์ทั้งหมดที่ประกอบกันเป็นรูปร่างอันมีผลทำให้สิ่งมีชีวิตนั้น ๆ
สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้  นอกจากนั้นเซลล์ใหม่จะเกิดจากกระบวนการแบ่งเซลล์
ของเซลล์ที่มีชีวิตอยู่ก่อน และเซลล์ใหม่จะได้รับการถ่ายทอด ลักษณะทางพันธุกรรม 
จากเซลล์เดิมด้วย   เรียกสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ว่า  สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์  ได้แก่ 
พืช  สัตว์  มนุษย์  และ เห็ดรา   เซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่มีขนาดเล็กมาก  มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นได้แก่

2.1   เซลล์สัตว์   เช่น
                               
        2.1.1    เซลล์เม็ดเลือดแดงของกบและปลา   มีรูปร่างรีเป็นรูปไขและมีนิวเคลียสใหญ่อยู่ตรงกลาง ทำหน้าที่ลำเลียงแก๊สไปยัง
                                เซลล์ต่างๆของร่างกาย 
                  
                               
            
















        2.1.2   เซลล์เม็ดเลือดแดงของคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม   มีรูปร่างกลมแบน  ตรงกลางเว้าเข้าหากัน   ไม่มีนิวเคลียส เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนแก๊ส
และลำเลียงแก๊ส

















       2.1.3    เซลล์เม็ดเลือดขาวของคน   มีรูปร่างกลม  ไม่มีสี มีขนาดใหญ่กว่า
เซลล์เม็ดเลือดแดง  แต่มีจำนวนน้อยกว่า  มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรค















       2.1.4    เซลล์ไข่ของสัตว์ปีก  คือส่วนที่เป็นไข่แดงนั่นเอง




















       2.1.5    เซลล์อสุจิของคน   ประกอบด้วย  3  ส่วน  คือ  ส่วนหัว   ลำตัว และหาง
  โดยหางเป็นโครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่ี่  





















       2.1.6   เซลล์กล้ามเนื้อของคน  มีลักษณะยาวเรียว เพื่อให้เหมาะต่อการ
ยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ


















2.2   เซลล์พืช   เช่น   เซลล์ต่าง ๆ   ในใบไม้





















      2.2.1.    เซลล์ผิวใบ     อยู่นอกสุดของใบ  มีรูปร่างเป็นช่องสี่เหลี่ยม  มีสารคล้ายขี้ผึ้งขาว ๆ ปกคลุมอยู่   ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำ














       2.2.2.  เซลล์คุม    มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว  1  คู่ประกบกัน   ทำให้เกิดรูตรงกลาง   เป็นทางแลกเปลี่ยนแก๊สและไอน้ำระหว่างภายในและภายนอกใบซึ่งเซลล์คุมนี้
จะไม่พบในพืชใต้น้ำ
      

























           2.2.3.เซลล์ชั้นในของใบ  มีรูปร่างยาวต่อกันภายในมีเม็ดคลอโรพลาสต์จำนวนมาก


















การจัดระบบของเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะ


สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์จะมีเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะจำนวนมากมายมาประกอบกันเป็นรูปร่าง  เช่นคน  จะมีเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะมาประกอบกันเป็นสมอง  หัวใจ  กระเพาะอาหาร  ฯลฯ  และประกอบกันเป็นร่างกาย   พืชเช่นกัน พืชจะมีเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะมาประกอบกัน
เป็นราก  ลำต้น  ใบ  ดอก  และประกอบกันเป็นต้นพืช
ตารางแสดงการจัดระบบของเซลล์เพื่อทำหน้าที่เฉพาะ

พืช
เซลล์
เซลล์
เนื้อเยื่อ
เนื้ือเยื่อ
อวัยวะ

ระบบ












































































































































































































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น