วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

การสร้างอาหารของพืช


ความหมายของกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

                กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ( Photosynthesis)   เป็นกระบวนการสร้างอาหารของพืชสีเขียว  โดยมีคลอโรฟีลล์ทำหน้าที่ดูดพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์แล้วเปลี่ยนสารวัตถุดิบ  คือ  น้ำ  (H2O)  และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ( C02)  ให้เป็นน้ำตาลกลูโคส (C6H12O6)    น้ำ    (H2O)     และแก๊สออกซิเจน    ( 02)   ดังนี้ื








เขียนสมการได้ดังนี้












ความสำคัญของใบต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง


                ใบของพืชมีความสำคัญมากต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง 
เพราะการสังเคราะห์ด้วย  แสงของพืชส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่บริเวณใบ
ดังนั้นใบของพืชจึงเปรียบเสมือนโรงงานผลิตอาหารให้แก่พืชใบของพืชประกอบ
ด้วยเซลล์เล็กๆ หลายเซลล์ ภายในเซลล์จะมีเม็ดคลอโรพลาสต์ภายในมีสาร
สีเขียวบรรจุอยู่เรียกว่า  คลอโรฟีลล์  คลอโรฟีลล์มีสมบัติในการดูดพลังงานแสง 
ซึ่งจำเป็นต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงทำให้พืชสามารถสร้างอาหารได้เอง
      
























ปัจจัยที่จำเป็นในการสังเคราะห์ด้วยแสง

               




















ภาพ  ปัจจัยที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง


1.   แสงและความเข้มของแสง 
                1.1   ชนิดของแสงที่ทำให้เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสงได้มากที่สุดคือ  แสงสีม่วง  แสงสีแดง และแสงสีน้ำเงินตามลำดับ  โดยแสงสีเขียวมีผลน้อยที่สุด
                    1.2   เมื่อความเข้มของแสงสูงขึ้น พืชจะสังเคราะห์ด้วยแสงได้มากขึ้นด้วย  แต่ถ้าแสงสว่าง มากเกินไป  ก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อได้ 
เป็นผลให้พืชสังเคราะห์ด้วยแสงได้น้อยลง
                1.3   ช่วงระยะเวลาที่ได้รับแสง  พืชโดยทั่วไปจะสังเคราะห์แสงได้ดี  เมื่อได้รับแสงเป็น เวลานานติดต่อกัน  แต่พืชบางชนิด  เช่นต้นแอปเปิ้ล 
เมื่อได้รับแสงเป็นเวลานานจนเกินไป  จะมีอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงลดลงดังนั้น  จะเห็นว่าการนำพืชเมืองหนาวมาปลูกในเขตร้อนชื้นหรือนำพืชในเขตร้อนมาปลูกใน
เขตหนาว  พืชที่ปลูกจะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร  สาเหตุสำคัญประการหนึ่ง  ก็คือ  ช่วงระยะเวลาที่ได้รับแสงของพืชไม่เหมาะสมนั่นเอง
2.   อุณหภูมิ
กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นกระบวนการที่มีเอนไซม์หลายชนิดเข้าไปเกี่ยวข้อง
เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนไปจะทำให้การทำงานของเอนไซม์เปลี่ยนแปลงไปด้วย  โดยทั่วไปอุณหภูมิที่เหมาะสมในการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชอยู่ระหว่าง  10 -  35  องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไปอาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของ  เอนไซม์ลดลงแสดงให้เห็นว่าเมื่อพืชได้รับแสงที่มีความเข้มเหมาะสมแล้ว  อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชจะแปรผันตามอุณหภูมิ(ไม่เกิน  35  องศาเซลเซียส) 3.   แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
                       3.1   ปริมาณแก๊ส  คาร์บอนไดออกไซด์  ( C02)   ในบรรยากาศ มีประมาณ 
                              0.03  -  0.04 % 
                  3.2   ถ้าเพิ่มความเข้มของแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์  ( C02)   ให้แก่พืช                                อัตราการ สังเคราะห์ด้วยแสงก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย
3.   แก๊สออกซิเจน
ถ้ามีปริมาณแก๊สออกซิเจนอยู่ในเซลล์พืชมากเกินไปจะทำให้อัตราการสังเคราะห์ 
ด้วยแสงลดลงได
คลอโรฟีลล์
คลอโรฟีลล์เป็นรงควัตถุชนิดหนึ่ง  มีสีเขียวพบในคลอโรพลาสต์ของเซลล์พืช  ทำ 
               หน้าที่รับพลังงานแสงเพื่อใช้ในการสร้างอาหาร  ถ้าพืชขาดคลอโรฟีลล์จะสร้างอาหารเองไม่ได้
4.   น้ำ
เป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์ด้วยแสง
ถ้าพืชขาดน้ำ  อัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงจะลดลง  เพราะปากใบจะปิด  เพื่อลดการคายน้ำ  ทำให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์  ( C02)   แพร่เข้าสู่ปากใบได้ยากเมื่อเกิดน้ำท่วม  จะทำให้รากพืชขาดแก๊สออกซิเจน    ( 02)    ที่ใช้ในการหายใจส่งผลกระทบต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง
5.   ธาตุอาหาร
ธาตุแมกนีเซียมและไนโตรเจนเป็นธาตุสำคัญในองค์ประกอบของ
คลอโรฟีลล์  ถ้าขาดธาตุเหล่านี้จะทำให้ใบพืชเหลืองซีด
ธาตุเหล็กจำเป็นต่อการสร้างคลอโรฟีลล์
ธาตุแมงกานีสและคลอรีนจำเป็นต่อกระบวนการแตกตัวของน้ำในปฏิกิริยา
การสังเคราะห์ด้วยแสง
6.   อายุของใบพืช
ใบพืชที่อ่อนหรือแก่เกินไปจะสังเคราะห์ด้วยแสงได้น้อยกว่าใบพืชที่เจริญเติบโต 
เต็มที่  เพราะใบพืชที่อ่อนเกินไป  คลอโรพลาสต์ยังเจริญไม่เต็มที่   ส่วนใบพืชที่แก่เกินไป  จะมีการสลายตัวของคลอโรฟีลล์
ดังนั้นใบพืชที่อ่อนหรือแก่เกินไปจึงมีผลทำให้การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชลดลง
               
7.   สารเคมี
การใช้สารเคมีบางอย่างอาจมีผลกระทบต่อการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชได้  เช่น 
คลอโรฟอร์ม   อีเทอร์  เป็นต้น  สารเหล่านี้จะมีสมบัติเป็นตัวยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ 
จึงสามารถทำให้การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชหยุดชะงักได้

แหล่งที่เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสง 
                1.   การสังเคราะห์ด้วยแสงสามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของพืช
ที่มีสีเขียวหรือมีคลอโรฟีลล์อยู่ โดยมีใบเป็นส่วนที่ทำหน้าที่โดยตรงใบ
ส่วนใหญ่จะแผ่เป็นแผ่นบาง  จึงรับแสงและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้ดี   ผิวด้านบนของใบส่วนที่รับแสง  เรียกว่า  หลังใบ  มักจะมีสีเขียวเข้ม 
ส่วนด้านล่างของใบส่วนที่ไม่ได้รับแสง  เรียกว่า   ท้องใบ
                2.  พืชสีเขียวจะสร้างคลอโรฟีลล์จากโปรตีนและธาตุอาหารต่าง ๆ  เช่น แมกนีเซียม  เหล็ก  แมงกานีส  โดยใช้พลังงานแสง
                3.  เซลล์ในใบทุกเซลล์จะอยู่ใกล้ชิดกับเนื้อเยื่อลำเลียงหรือเส้นใบ  ทำให้ใบได้รับน้ำและธาตุอาหารจากรากทางท่อลำเลียงน้ำที่เรียกว่า  ไซเลม ( Xylem)
ของเส้นใบ ส่วนน้ำตาลที่พืชสร้างขึ้นจะถูกนำไปสู่ส่วนต่าง ๆ
ของพืชทางท่อลำเลียงอาหารที่เรียกว่า โฟลเอ็ม( Phloem) ของเส้นใบเช่นกัน               


สิ่งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

               

















               ในกระบวนการสร้างอาหารพืชจะต้องการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และ
น้ำเป็นวัตถุดิบสำคัญในการสังเคราะห์ด้วยแสง
  โดยมีคลอโรฟีลล์และแสงเป็นตัวกระตุ้นทำให้ได้อาหารเกิดขึ้นซึ่งก็คือน้ำตาลกลูโคส  และนอกจากนี้ยังได้ก๊าซออกซิเจนและน้ำเกิดขึ้นด้วย
               น้ำตาลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช  พบว่าจะมีปริมาณมากเกินกว่าที่พืชต้องการนำไปใช้ประโยชน์  ดังนั้นพืชจึงเปลี่ยนน้ำตาลส่วนที่เหลือไปเก็บสะสมไว้ในรูปของแป้ง  และแป้งนี้จะเปลี่ยนกลับเป็นน้ำตาลอีกเมื่อพืชนำไปใช้ในการดำรงชีวิต                
               น้ำตาลจากการสังเคราะห์ด้วยแสงจะถูกเปลี่ยนเป็นแป้ง  และแป้งจะถูกเก็บสะสมไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของต้นพืช  เช่น  ราก  ลำต้น  ใบ ผล  และเมล็ด ถ้าสัตว์กินพืชก็จะได้รับแป้งเข้าไปด้วยแล้วแป้งนี้ก็จะถูกระบบย่อย
ในร่างกายย่อยให้กลายเป็นน้ำตาล  เมื่อน้ำตาลรวมกับก๊าซออกซิเจนจากการหายใจก็จะให้พลังงานแก่สัตว์  และมนุษย์ก๊จะได้รับพลังงานจากพืชด้วยวิธีการเดียวกันกับสัตว์ 
                ส่วนใหญ่พืชจะเก็บสะสมอาหารไว้ในรูปของแป้งแต่พืชบางชนิดจะเก็บอาหารไว้ใน
รูปของน้ำตาลและน้ำมัน  ส่วนของต้นพืชที่ใช้สะสมอาหารได้แก่ 
                                1.   ราก  เช่น รากบัว  แครอท  หัวผักกาด  เป็นต้น  ซึ่งรากของพืชเหล่านี้จะเก็บสะสมแป้งและน้ำตาลไว้ภายใน 
                                2.   ลำต้น  เช่น  อ้อยจะเก็บอาหารไว้ในลำต้นซึ่งเก็บไว้ในรูปของน้ำตาล  มันฝรั่ง  จะเก็บสะสมแป้งไว้เป็นจำนวนมากทำให้มันฝรั่งเป็นแหล่งให้พลังงานที่ดีสำหรับมนุษย์ 
                                3.  ใบ  เช่น  กะหล่ำ  ผักขม  จะเก็บอาหารไว้ในใบ 
                                4.   ผล  เช่น  กล้วย  องุ่น  มังคุด  ทุเรียน  ผลไม้เหล่านี้จะเก็บอาหารไว้ในรูปของน้ำตาลทำให้มีรสหวาน 
                                5.  เมล็ด  เช่น  เมล็ดถั่วลิสง  ถั่วเหลือง  และเมล็ดข้าวโพด  จะประกอบด้วยน้ำตาล
น้ำมันและแป้ง ทำให้มีคุณค่าทางสารอาหารสูงและมีรสชาติดี นอกจากนี้ยังสามารถ
สกัดน้ำมันมาใช้ปรุงอาหารได้ด้วย เมล็ดข้าวและข้าวสาลี จะประกอบด้วยแป้ง
เป็นส่วนใหญ่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น