วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

มันฝรั่ง

มันฝรั่ง เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก เดิมเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกา แต่ประเทศจีนมีปริมาณการผลิตมันฝรั่ง 77.8 ล้านตันต่อปี (ปี2010) พื้นที่ปลูกและยอดการผลิตมันฝรั่งของจีนก้าวเป็นอันดับที่ 1 ของโลก และมันฝรั่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอันดับที่ 4 ของจีน

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

สำรวจโลก

นกบูบีเท้าน้ำเงิน เป็นนกที่มีเอกลักษณ์บริเวณเท้าของมันจะมีสีฟ้า ตัวผู้จะแสดงเท้าที่มีสีสันสวยงามเพื่อดึงดูเพศเมีย พวกมันจะล่าอาหารตามแนวขายฝั่ง หรือบางครั้งอาจต้องบินออกไปไกลเพื่ออาหาร ตัวผู้จะทำการเต้นรำเพื่อสร้างความประทับใจให้กับตัวเมีย จนตัวเมียพอใจ

ดมีทรี เมนเดลีฟ

มีนาคม.....ในอดีต

6 มีนาคม พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1869) 
ดมีทรี เมนเดลีฟ เสนอตารางธาตุชิ้นแรก ต่อสมาคมเคมีรัสเซีย

ดมีตรี อีวาโนวิช เมนเดเลเยฟ (Dmitriy Ivanovich Mendeleyev ) เมนเดเลเยฟเป็นนักเคมีชาวรัสเซีย เขาได้รับการยกย่องมีฐานะบุคคลแรกที่สร้างตารางธาตุสำหรับธาตุเคมีฉบับแรกขึ้นมา แต่เมเดลีฟนั้นมีความคิดแตกต่างจากผู้เขียนตารางธาตุคนอื่นๆ นั่นคือ เขาได้ทำนายคุณสมบัติของธาตุต่าง ๆ ที่ยังไม่ได้ค้นพบด้วย และนอกจากการทุ่มเทให้กับการวางแบบแผนตารางธาตุและเคมีแล้ว เขายังให้ความสนใจปัญหาสังคมด้ว

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

หมวดความรู้ทั่วไป


Monkey orchid ดอกกล้วยไม้เหมือนหน้าลิง
กล้วยไม้ที่มีดอกเหมือนหน้าลิง เป็นกล้วยไม้ประหลาดที่พบทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศเอกวาดอร์ และประเทศเปรู ซึ่งเป็นป่าทึบมีสูง 1,000 - 2,000 เมตรจากน้ำทะเล เป็นอีกพันธุ์ไม้ที่แปลกประหลาดของโลก




ฉลามหัววัว (Port Jackson Shark) เป็นฉลามที่ออกลูกเป็นไข่ ซึ่งเชื่อว่ามีลักษณะเดียวกับปลาฉลามในยุคจูราสสิค และไม่มีอันตรายต่อมนุษย์


ดวงจันทร์ที่แปลกที่สุดในระบบสุริยะ
ไอโอ ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี มีสีเหลืองสด เพราะเกิดจากกำมะถันและหินซิลิเกตที่หลอมละลาย พื้นผิวที่ดูผิดปกติของไอโอนี้มีอายุน้อยมาก เกิดจากภูเขาไฟที่ยังมีพลังอยู่ ซึ่งภูเขาไฟจำนวนมากบนไอโอนี้เกิดจากแรงรบกวนจากแรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของดาวพฤหัสบดีและดวงจันทร์กาลิเลียนดวงอื่นๆ แรงเสียดที่เกิดขึ้นจากการที่มันถูกแรงโน้มถ่วงดึงยืดอย่างรุนแรง ส่งผลให้เิกิดความร้อนขึ้นอย่างมหาศาลภายในดวงจันทร์ไอโอ จนทำให้หินหลอมเหลวภายในไอโอระเบิดออกมาสู่ภายนอก ภูเขาไฟอันทรงพลังของไอโอยังทำให้สาร
ทั้งหมดภายในดวงจันทร์ออกมาสู่ภายนอก



ปลานกแก้ว (Parrotfish)
ปลานกแก้วเป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม ขนาดโตเต็มที่มีประมาณ 30-70 เซนติเมตร อาศัยอยู่ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่น ในน่านน้ำไทยพบได้ในฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน พบมากกว่า 20 ชนิด เป็นปลาที่มีฟันแหลมคมคล้าย ๆ จะงอยของนกแก้วอันเป็นที่มาของชื่อเรียก จะงอยปากยืดหดได้ เป็นปลาที่กินฟองน้ำ, ปะการังหรือสาหร่ายเป็นอาหาร บ่อยครั้งจะพบรวมฝูงขณะหาอาหาร เวลาว่ายนำจะดูสง่างามเหมือนนกกำลังบินในอากาศ

ไม่ใช่มังกรใต้ทะเลคืนชีพ แต่มันคือ Squidworm สัคว์ลึกใต้ทะเลที่มีความยาว 9.4 ซ.ม. นักวิทยาศาสตร์ค้นพบที่ใต้ทะเลบริเวณ Celebes Sea ระหว่างอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ที่ความลึกประมาณ 2.8 กิโลเมตร


นกกระเรียนมงกุฏ (Crowned Crane)

เป็นนกขนาดใหญ่สูงถึง 1.5 เมตร และมีความสวยงามสะดุดตา ได้รับยกย่องให้เป็นนกประจำชาติของประเทศแทนซาเนีย พบเห็นได้ทั่วไปในแดริกาตะวันออก อาศัยอยู่ในทุ่วกว้างที่มีหนอง บึง และแหล่งน้ำ อาหารหลัก ได้แก่ แมลงขนาดใหญ่ สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก และกบ ตลอดนรากไม้ สร้างปัญหาให้กับพื้นที่เกษตรกรรมบางแห่งโดยเฉพาะไร่ข้าวโพด
ข้อมูล สัตว์ป่าแอฟริกา ปองพล อดิเรกสาร


ดาราจักรแอนดรอเมดา (Andromeda Galaxy) หรือเนบิวลาแอนดรอเมดาใหญ่ อยู่ใกล้กับดาราจักรทางช้างเผือกของเรามากที่สุด เป็นดาราจักรชนิดก้นหอย อยู่ห่างจากโลกเราประมาณ 2.5 ล้านปีแสง สามารถมองเห็นเป็นรอยจาง ๆ บนท้องฟ้าคืนที่ไร้จันทร์ได้แม้มองด้วยตาเปล่า ดาราจักร M31 มีดาวฤกษ์อยู่ราว 1 ล้านล้านดวง 

.............................................................................................................................................................
โดย สำรวจโลก

วัฏจักรไนโตรเจน

วัฏจักรไนโตรเจน (อังกฤษNitrogen Cycle) คือวัฏจักรทางชีวธรณีเคมีซึ่งอธิบายถึงการแปลงสภาพของไนโตรเจนและสารประกอบที่มีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบในธรรมชาติ

หลักการแปลงสภาพพื้นฐาน

แหล่งกำเนิดหลักของไนโตรเจนนั้นมาจากอากาศ ซึ่งอยู่ในรูปของ N2 ในอากาศอยู่ประมาณ 78% ก๊าซไนโตรเจนนี้คือส่วนสำคัญในกระบวนการทางชีววิทยาหลายกระบวนการ เช่นการที่ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบในกรดอะมิโน (ที่จริงแล้วคำว่า "อะมิโน" มาจากก๊าซซึ่งมีไนโตรเจนประกอบเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่) , เป็นองค์ประกอบในโปรตีน และเป็นสารหลักๆ ในสารทั้ง 4 ที่อยู่ในกรดนิวคลีอิกต่างๆ เช่น DNA วัฏจักรไนโตรเจนเป็นส่วนที่จำเป็นในการแปลงสภาพจากไนโตรเจนในรูปของก๊าซไปสู่รูปแบบสารที่สิ่งมีชีวิตสามารถนำไปใช้ได้
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการไนโตรเจนในรูปแบบต่างๆกัน แต่มีสิ่งมีชีวิตไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนจากบรรยากาศมาใช้ได้

การตรึงไนโตรเจน

[แก้]สิ่งมีชีวิตที่ตรึงไนโตรเจนได้


สิ่งมีชีวิตที่ตรึงไนโตรเจนได้มี 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ
  • จุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจนได้อย่างเป็นอิสระ ในดินจะเป็นกิจกรรมของจุลินทรีย์ เช่น AzotobactorBeijerinckiaPseudomonasRlebsiella และแอกติโนมัยสีตบางตัว โดยทั่วไปอัตราการตรึงไนโตรเจนจะต่ำ เว้นแต่เมื่อเข้าไปอยู่ในไรโซสเฟียร์และได้รับสารอินทรีย์จากรากพืช อัตราการตรึงไนโตรเจนจะสูงขึ้น ในน้ำจะเป็นกิจกรรมของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน เช่น AnabeanaNostocAphanizomehon,Gloeotrichia,Calothrix 
  • จุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจนเมื่ออยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่น มีหลายกลุ่มได้แก่ 
    • แบคทีเรีย Frankiaเป็นการเกิดปมระหว่าง Actinorhizea (Frankia) กับพืชใบเลี้ยงคู่ที่ไม่ใช่พืชตระกูลถั่ว ส่วนใหญ่เป็นไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้น พบในเขตอบอุ่น แต่ก็มีหลายชนิดพบในเขตร้อนด้วย เช่น Purshia tridenta ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจในแอฟริกา หรือสนประดิพัทธิ์และสนทะเล (Casuarina) ที่ปลูกได้ในประเทศไทย Frankia เป็นแบคทีเรียที่พบในปมของพืชที่ไม่ใช่พืชตระกูลถั่ว เป็นสกุลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับแอกติโนมัยสีท แบ่งได้เป็นกลุ่มที่สร้างสปอแรงเจียภายในปม ซึ่งเจริญได้ช้า ตรึงไนโตรเจนได้น้อย คัดแยกให้บริสุทธิ์ได้ยาก กับกลุ่มที่ไม่สร้างสปอแรงเจีย ที่เจริญได้เร็วกว่า
    • สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่อยู่ร่วมกับพืช ที่สำคัญคือ Anabeana ที่อยู่ร่วมกับแหนแดง และ Nostoc ซึ่งอยู่ร่วมกับปรง และไลเคน อย่างไรก็ตาม สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินมีแหล่งอาศัยที่หลากหลายกว่าระบบการตรึงไนโตรเจนอื่นๆ และที่น่าสังเกตคือในขณะที่ไรโซเบียมและ Frankia อยู่ร่วมกับพืชชั้นสูง แต่สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินจะอยู่ร่วมกับพืชที่มีวิวัฒนาการต่ำกว่า เช่น ไลเคน ลิเวอร์เวิร์ต เฟิน จิมโนเสปิร์มเป็นต้น
    • ไรโซเบียมที่อยู่ในปมของพืชตระกูลถั่ว เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพมากเมื่อเทียบกับระบบอื่นๆ

การเปลี่ยนรูปของไนโตรเจนหลังการตรึง

เมื่อก๊าซไนโตรเจนถูกตรึงโดยสิ่งมีชีวิต จะอยู่ในรูปแอมโมเนียมอิออน ส่วนหนึ่งจะนำไปใช้ในกระบวนการสร้างสารอินทรีย์ ส่วนหนึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นไนไตรล์ และไนเตรตอิออน โดยแบคทีเรีย Nitrosomonas และ Nitrobactor ตามลำดับ กระบวนการนี้เรียกว่าไนตริฟิเคชัน ในขณะที่ไนโตรเจนที่อยู่ในสารอินทรีย์เมื่อถูกย่อยสลายจะได้แอมโมเนียมอิออนเช่นเดียวกัน
การเปลี่ยนแอมโมเนียมอิออนไปเป็นไนเตรตอิออนมีผลต่อการเคลื่อนย้ายของไนโตรเจนในดิน เพราะไนเตรตอิออนละลายน้ำได้ดีถูกดูดซับโดยออนุภาคของดินได้น้อย จึงถูกชะและพัดพาไปโดยกระแสน้ำได้ง่าย นอกจากนั้น ไนเตรตอิออนส่วนหนึ่งจะถูกใช้โดย Denitrifying bacteria ได้เป็นก๊าซไนโตรเจนซึ่งจะระเหยออกจากดินกลับสู่ชั้นบรรยากาศในที่สุด


Phosphorus cycle

Phosphorus cycle

วัฏจักรคาร์บอน

      การหมุนเวียนของธาตุคาร์บอนในระบบนิเวศมีผู้ผลิตคือพืชเป็นสิ่งสำคัญ โดยพืชใช้ธาตุคาร์บอนที่อยู่ในรูปของแก๊สคารืบอนไดออกไซด์ในการสร้างอาหารด้วยการสังเคราะห์ด้วยแสง เมื่อสัตว์กินพืช คาร์บอนจะเข้าไปสะสมในเนื้อเยื่อ เมื่อพืชและสัตว์ตาย ผู้สลายสารอินทรีย์จะย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ และการเผาไหม้เชื้อเพลิงจะได้แก๊สคารืบอนไซด์กลับคืนสู่บรรยากาศ นอกจากนี้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศสามารถละลายน้ำได้ ทำให้พืชน้ำใช้เป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์ด้วยแสง เมื่อคาร์บอนไดออกไซด์รวมตัวกับน้ำบางส่วนจพได้สารประกอบไฮโดรเจนคารืบอเนต ในน้ำโดยแหล่งน้ำตามธรรมชาติจะมีแคลเซียมละลายอยู่ด้วยเสมอ ซึ่งจะสามารถทำปฏิกิริยากับสารประกอบไฮโดรเจนคาร์บอเนตได้และทำให้เกิดหินปูนขึ้นและหินปูนก็สลายให้คารืบอนบอเนตได้ เมื่ออยู่ในสภาวะเป็นกรด

29.jpg

วัฏจักรของน้ำ


วัฏจักรของน้ำ (water cycle) หรือชื่อในทางวิทยาศาสตร์ว่า วัฏจักรของอุทกวิทยา (hydrologic cycle) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำระหว่าง ของเหลว ของแข็ง และ ก๊าซ. ในวัฏจักรของน้ำนี้ น้ำจะมีการเปลี่ยนแปลงสถานะไปกลับ จากสถานะหนึ่งไปยังอีกสถานะหนึ่ง อย่างต่อเนื่อง ไม่มีสิ้นสุด ภายในอาณาจักรของน้ำ (hydrosphere) เช่น การเปลี่ยนแปลงระหว่าง ชั้นบรรยากาศ น้ำพื้นผิวดิน ผิวน้ำ น้ำใต้ดิน และ พืช. กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ สามารถแยกได้เป็น 4 ประเภทคือ การระเหยเป็นไอ (evaporation) , หยาดน้ำฟ้า (precipitation) , การซึม (infiltration) , และ การเกิดน้ำท่า (runoff).
  • การระเหยเป็นไอ (evaporation) เป็นการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำบนพื้นผิวไปสู่บรรยากาศ ทั้งการระเหยเป็นไอ (evaporation) โดยตรง และจากการคายน้ำของพืช (transpiration) ซึ่งเรียกว่า evapotranspiration
  • หยาดน้ำฟ้า (precipitation) เป็นการตกลงมาของน้ำในบรรยากาศสู่พื้นผิวโลก โดยละอองน้ำในบรรยากาศจะรวมตัวกันเป็นก้อนเมฆ และในที่สุดกลั่นตัวเป็นฝนตกลงสู่ผิวโลก รวมถึง หิมะ และ ลูกเห็บ
  • การซึม (infiltration) จากน้ำบนพื้นผิวลงสู่ดินเป็นน้ำใต้ดิน อัตราการซึมจะขึ้นอยู่กับประเภทของดิน หิน และ ปัจจัยประกอบอื่นๆ น้ำใต้ดินนั้นจะเคลื่อนตัวช้า และอาจไหลกลับขึ้นบนผิวดิน หรือ อาจถูกกักอยู่ภายใต้ชั้นหินเป็นเวลาหลายพันปี โดยปกติแล้วน้ำใต้ดินจะกลับเป็นน้ำที่ผิวดินบนพื้นที่ที่อยู่ระดับต่ำกว่า ยกเว้นในกรณีของบ่อน้ำบาดาล
  • น้ำท่า (runoff) หรือ น้ำไหลผ่านเป็นการไหลของน้ำบนผิวดินไปสู่มหาสมุทร น้ำไหลลงสู่แม่น้ำและไหลไปสู่มหาสมุทร ซึ่งอาจจะถูกกักชั่วคราวตาม บึง หรือ ทะเลสาบ ก่อนไหลลงสู่มหาสมุทร น้ำบางส่วนกลับกลายเป็นไอก่อนจะไหลกลับลงสู่มหาสมุทร

วัฏจักรของสสาร (matter cycling)




ในระบบนิเวศน์ ทั้งสสารและแร่ธาตุต่างๆ จะถูกหมุนเวียนกันไปภายใต้เวลาที่เหมาะสมและมีความสมดุลซึ่งกัน และกัน วนเวียนกันเป็นวัฏจักรที่เรียกว่าวัฏจักรของสสาร (matter cycling) ซึ่งเปรียบเสมือนกลไกสำคัญ ที่เชื่อมโยงระหว่าง สสาร และพลังงานจากธรรมชาติสู่สิ่งมีชีวิตแล้วถ่ายทอดพลังงานในรูปแบบของการกินต่อกันเป็นทอดๆ ผลสุดท้ายวัฏจักรจะสลายใน ขั้นตอนท้ายสุดโดยผู้ย่อยสลายกลับคืนสู่ธรรมชาติ วัฏจักรของสสารที่มีความสำคัญต่อสมดุลของระบบนิเวศ ได้แก่ วัฏจักรของน้ำ วัฏจักรของไนโตรเจน วัฏจักรของคาร์บอนและ วัฏจักรของฟอสฟอรัส
วัฏจักรของน้ำ

ระบบนิเวศ คืออะไร

ระบบนิเวศ

การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ
ระบบนิเวศป่าดิบชื้นบนภูเขา
ระบบนิเวศต้นน้ำและลำธาร
เกษตรกรรม
ชุมชนเมือง
แหล่งอุตสาหกรรม
ระบบนิเวศป่าชายเลน
ลักษณะทางสมุทรศาสตร์ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
การเคลื่อนที่และการยกตัวของแผ่นดิน
...........................................................................................................................................................
โดย พัฒนาโดย อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 

สิ่งเสพติด


 สิ่งเสพติด  คือ  ยาประเภทหนึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำให้ผู้ได้รับมีความต้องการมากขึ้นเรื่อย  โดยจะเข้าสู่ร่างกายโดยการ  กิน  สูบ  ฉีด  หรือดม  ผลของสิ่งเสพติดต่อการทำงานของระบบต่างๆ  ของร่างกายของผู้เสพจะเกิดโทษต่างๆ  เช่น 
            1.  บุหรี่  ในบุหรี่มีสารนิโคติน  ซึ่งจะระเหยออกมาพร้อมกับควันบุหรี่  สารนิโคติน  จะเป็นอันตรายต่อหัวใจ  ระบบประสาท  อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ  เป็นต้น
              2.  น้ำชา  กาแฟ  จะมีสารคาเฟอีน  ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท  ทำให้รู้สึกสดชื่นหายง่วง
              3.  สุรา  เครื่องดื่มทุกชนิด  ที่ดื่มแล้วทำให้มันเมา  ในสุรามีแอลกอฮอล์ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกาย  เมื่อแอลกอฮอล์เข้าไปในกระแสเลือด  เลือดก็จะนำไปยังส่วนต่างๆ  ของร่างกาย  ถ้าเราดื่มมากๆ  อาจจะทำให้เป็นโรคตับแข็ง  และยังเป็นอันตรายต่อกระเพาะอาหาร  ลำไส้  ปอด  เป็นต้น 
            4.  ยาบ้า  หรือ  แอมเฟตามีน  มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทและสมอง  ทำให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา  เมื่อหมดฤทธิ์ยาจะทำให้มึนงง  นอนไม่หลับ  ตกใจง่าย  อ่อนล้า คลุ้มคลั่ง  ประสาท  หลอน  คลื่นไส้  อาเจียน  อาจถึงขั้นหลอดเลือดในสมองแตกและหัวใจวาย
              5.  สารระเหย  เป็นสารเคมีที่ระเหยง่าย  ในอุณหภูมิปกติจะพบในรูปของตัวทำละลาย  เช่น ทินเนอร์  น้ำยาล้างเล็บ  กาว  เป็นต้น  เมื่อร่างกายรับสารระเหยเข้าไปในระยะแรก  จะเกิดอาการตื่นเต้น  ร่าเริงต่อมาจะมีอาการมึนงง  ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้  จะง่วงซึมและหมดสติในที่สุด
               6.  กัญชา  เป็นพืชล้มลุก  ในใบ  ดอก  ลำต้นกัญชาจะมีสารเสพติดที่เป็นน้ำมัน  เมื่อรับเข้าสู่ร่างกาย  จะทำให้กล้ามเนื้อสั่น  กระตุก  ปวดร้าว  สมองมึนงง  ความคิดสับสน  กระหายน้ำ  หวาดผวา  เป็นอันตรายต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อของร่างกาย 
              7.  ฝิ่น  ได้จากเปลือกผลดิบมีลักษณะเป็นยาง  เรียกว่า  ฝิ่นดิบ  นำมาเคี่ยวให้สุกมีสีดำ  รสชาติขม  ฝิ่นมีฤทธิ์กดประสาท  ทำให้จิตใจเสื่อมโทรม
              8.  มอร์ฟีน  มีลักษณะเป็นผงสีขาว  หรือเหลืองอ่อน  ละลายน้ำง่ายไม่มีกลิ่น  เป็นสารสกัดที่ได้จากฝิ่น  แต่มีฤทธิ์รุนแรงกว่า  8  -  10  เท่ามีฤทธิ์กดประสาทและสมองทำให้ศูนย์ประสาทรับความรู้สึกชา  สามารถนำมาใช้วงการแพทย์ใช้สำหรับระงับความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วย
            9.  เฮโรอีน  สกัดจากมอร์ฟีน  แต่มีฤทธิ์ร้ายแรงกว่า  10  เท่า  เป็นสิ่งเสพติดที่ติดได้ง่าย  เสพเพียง  1  -  2  ครั้งก็สามารถติดได้  เฮโรอีนสามารถแบ่งได้  2  ชนิด  คือ
                        -   เฮโรอีนบริสุทธิ์  หรือผงขาว  มีลักษณะเป็นผงสีขาวไม่มีกลิ่น  รสชาติขมจัด
                        -  เฮโรอีนไม่บริสุทธิ์  หรือเฮโรอีนผสม  หรือ  ไอระเหย  มีสีต่างๆ  เช่น  ชมพู  สีม่วง  มีลักษณะเป็นเกล็ด  เสพเข้าร่างกายโดยวิธีการสูบไอระเหย  เข้าไปตามระบบทางเดินลมหายใจ
              ผลเสีย  ของสารเสพติด  สามารถสรุปได้ดังนี้
              1.  ต่อตัวเอง  ร่างกายทรุดโทรม  ทำให้เกิดโรค  สมองเสื่อม  เสียบุคลิกภาพ
               2.  ต่อสังคมและประเทศชาติ  เพราะประเทศต้องเลี้ยงดู  รักษา  ผู้ที่ติดสารเสพติดเป็นจำนวนมาก  เป็นภาระต่อสังคม  ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม  ทำให้สูญเสียแรงงานของชาติ  สูญเสียงบประมาณของประเทศ
            3.  ต่อครอบครัว  ทำให้สิ้นเปลือง  ขาดความรับผิดชอบ  ทำให้เสียชื่อเสียง  เป็นภาระของผู้อื่น  บางรายหลังจากที่มีการเสพเข้าไปแล้ว  จะมีการทำร้ายบุคคลในครอบครัว  หรือบางรายไมมีเงินซื้อสิ่งเหล่านี้มาเสพจะเกิดการลักขโมย  ทำร้ายผู้อื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินที่จะนำไปซื้อยาเสพติด
            สาเหตุ  ของการติดสิ่งเสพติด
            1.  อยากลอง  อยากรู้  อยากสัมผัส
            2.  ถูกชักชวน  ถูกหลอกลวง  ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
            3.  สาเหตุมาจากครอบครัว  ขาดความรัก  ความอบอุ่นจากครอบครัว
            4.  จากสื่อต่างๆ  เช่น  โทรทัศน์   ภาพยนตร์ทำให้เด็กประพฤติตาม
            ลักษณะ  ของผู้ติดยา
            1.  สุขภาพทรุดโทรม  ผอม  ซูบซีด  เจ็บป่วยง่าย  ตาแดง  ตาโรย  น้ำมูลไหล  น้ำตาไหล 
            2.  มีร่องรอยการเสพยาตามร่างกาย  นิ้วมือมีคราบเหลืองมีรอยการเสพยาด้วยเข็ม
            3.  ผิวหนังหยาบกร้าน  เป็นแผลพุพอง  เป็นหนอง  น้ำเหลืองคล้ายคนเป็นโรคผิวหนัง
            พฤติกรรม ของผู้ติดสิ่งเสพติด
            1.  ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม  ชอบแยกตัวเอง
            2.  แต่งกายไม่เรียบร้อย  สกปรก
            3.  สีหน้าแสดงความวิตก  ซึมเศร้า  ไม่กล้าที่จะสู้หน้าคน
            4.  เมื่อขาดยา  มีอาการกระวนกระวาย  หายใจลึก  กล้ามเนื้อกระตุก  ทุรนทุราย คลุ้มคลั่ง
            การป้องกัน  การเสพยาเสพติด
            1.  เลือกคบเพื่อนที่ดี  หลีกเลี่ยงการคบเพื่อนที่ติดสิ่งเสพติด
            2.  ไม่ทดลอง  สิ่งเสพติดทุกชนิด
            3.  เล่นกีฬา  ออกกำลังกาย  หากิจกรรมนันทนาการเล่นเมื่อมีเวลาว่าง
            4.  สถาบันการศึกษาควรให้การอบรมเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด
            5.  ควรมีความอบอุ่นแก่ครอบครัว  ดูแลสมาชิกในครอบครัว  อย่างใกล้ชิด
            6.  เมื่อมีปัญหาควรที่จะปรึกษาผู้ใหญ
่ 


...............................................................................................................................................................
โดย ทนงศักดิ์ ศาลยาชีวิน จัดทำ

อาหารและสารอาหาร


อาหารและสารอาหาร

อาหาร (food) คือ สิ่งที่เรารับประทานได้โดยปลอดภัยและให้สารอาหารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ในประเทศไทยมักจำแนกเป็น 5 หมู่ หรือ 5 กลุ่ม เพื่อเป็นแนวทางให้คนไทยบริโภคอาหารที่หลากหลายและครบส่วน อาหาร 5 หมู่ ได้แก่
หมู่ที่ 1 ได้แก่ ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน
หมู่ที่ 2 ได้แก่ เนื้อสัตว์ นม ถั่ว ไข่
หมู่ที่ 3 ได้แก่ ไขมันและน้ำมัน
หมู่ที่ 4 ได้แก่ ผัก
หมู่ที่ 5 ได้แก่ ผลไม้

สารที่เป็นองค์ประกอบในอาหาร เรียกว่า สารอาหาร (nutrient) เป็นสารที่ร่างกายสามารถใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต จำแนกตามองค์ประกอบทางเคมีเป็น 6 ประเภท คือ คาร์โบไฮเดรต  โปรตีน ลิพิด วิตามิน  แร่ธาตุ และน้ำ
คาร์โบไฮเดรต (carbohydrate) เป็นสารอาหารหลักที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ส่วนใหญ่ของคาร์โบไฮเดรตที่มนุษย์ได้รับมาจากอาหารจำพวกน้ำตาลและแป้ง ซึ่งมีมากในธัญพืช ถั่ว และผักผลไม้ คาร์โบไฮเดรตประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน  จับตัวกันเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว  น้ำตาลโมเลกุลคู่ และคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ การตรวจสอบน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวใช้สารละลายเบเนดิกต์ส่วนการตรวจสอบคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่พวกแป้งใช้สารละลายไอโอดีน
โปรตีน (protein) เป็นส่วนประกอบสำคัญของอวัยวะและเซลล์ทุกเซลล์ ช่วยสร้างเสริมการเจริญเติบโตและซ่อมแซมเซลล์ และเป็นสารอาหารที่ให้พลังงาน โปรตีนมีบทบาทสำคัญโดยเป็นเอนไซม์  ฮอร์โมน แอนติบอดี  อาหารที่พบโปรตีนมากได้แก่ เนื้อสัตว์  ไข่ นมและถั่ว โปรตีนประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน  ออกซิเจน และไนโตรเจน เป็นธาตุหลักจับกันเป็นกรดอะมิโน ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของโปรตีน กรดอะมิโนหลายโมเลกุล จับกันเป็นโปรตีนที่มีโมเลกุลใหญ่ขึ้น
ลิพิด (lipid) เป็นสารอาหารที่มีสมบัติไม่รวมตัวกับน้ำ ให้พลังงานสูง ช่วยในการดูดซึมวิตามินบางชนิด ในร่างกายพบใต้ผิวหนัง และรอบอวัยวะภายในต่างๆ ลิพิดมีหลายประเภท เช่น ไขมัน (fat) น้ำมัน (oil) คอเลสเทอรอล (cholesterol) เป็นต้น ลิพิดในอาหารมักเป็นสารประกอบประเภทเอสเตอร์ เช่น ไตรกลีเซอไรด์  (triglyceride) ประกอบด้วยกลีเซอรอลและกรดไขมัน กรดไขมันประกอบด้วยธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจน
วิตามิน (vitamin) เป็นสารอินทรีย์ที่มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบต่างๆ ร่ายกายต้องการปริมาณไม่มาก แต่เมื่อขาดวิตามิน จะส่งผลให้เกิดภาวะผิดปกติเนื่องจากความบกพร่องของกระบวนการเคมีในร่างกาย แหล่งที่พบ ความสำคัญ ตลอดจนผลจากการขาดวิตามินชนิดต่างๆ ศึกษาได้จากตารางต่อไปนี้

ตาราง แสดงแหล่งอาหาร ความสำคัญและผลจากการขาดวิตามินชนิดต่างๆ 
วิตามิน
แหล่งอาหาร
ความสำคัญ
ผลจากการขาด
ละลายในลิพิด
เรตินอล
(A)

ตับ  น้ำมันตับปลา ไข่ นม เนย ผักและผลไม้ที่มีสีเขียว
และเหลือง
ช่วยในการเจริญเติบโต
บำรุงสายตา
เด็กไม่เจริญเติบโต
ผิวหนังแห้ง หยาบ 
มองไม่เห็นในที่สลัว
แคลซิเฟอรอล
(D)
นม เนย ไข่ ตับ
น้ำมันตับปลา
จำเป็นในการสร้างกระดูกและฟัน  ช่วยเพิ่มอัตราการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส
โรคกระดูกอ่อน
แอลฟา โทโคเฟอรอล
(E)
ผักสีเขียว น้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันรำ  น้ำมันถั่วเหลือง
ทำให้เม็ดเลือดแดงแข็งแรง
และไม่เป็นหมัน
โรคโลหิตจาง หญิงมีครรภ์อาจทำให้แท้งได้ ผู้ชายอาจเป็นหมัน
แอลฟา ฟิลโลควิโนน
(K)
ผักสีเขียว  ตับ
ช่วยในการแข็งตัวของเลือด
เลือดแข็งตัวช้ากว่าปกติ
ละลายในน้ำ
ไทอามีน
(B1)
ข้าวซ้อมมือหรือข้าวกล้อง
เนื้อสัตว์ ตับ ถั่ว ไข่
ช่วยบำรุงระบบประสาท
และการทำงานของหัวใจ
โรคเหน็บชา
เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
ไรโบเฟลวิน
(B2)
ตับ  ไข่ ถั่ว  นม  ยีสต์
ช่วยให้การเจริญเติบโตเป็นไปอย่างปกติ  ทำให้ผิวหน้า  ลิ้น  ตามีสุขภาพดี  แข็งแรง
โรคปากนกกระจอก
ผิวหนังแห้งและแตก  ลิ้นอักเสบ
ไนอาซิน
(B3)

เนื้อสัตว์ ตับ ถั่ว  ข้าวซ้อมมือหรือข้าวกล้อง  ยีสต์
ช่วยในการทำงานของระบบประสาท กระเพาะอาหาร ลำไส้ จำเป็นสำหรับสุขภาพของผิวหนัง  ลิ้น
เบื่ออาหาร  อ่อนเพลีย  ผิวหนังเป็นผื่นแดง  ต่อมาสีจะคล้ำหยาบ  และอักเสบเมื่อถูกแสงแดด
ไพริดอกซิน
(B6)
เนื้อสัตว์  ตับ  ผัก ถั่ว
ช่วยการทำงานของ
ระบบย่อยอาหาร
เบื่ออาหาร
ผิวหนังเป็นแผล
มีอาการทางประสาท
ไซยาโนโคบาลามิน
(B12)
ตับ ไข่  เนื้อปลา
จำเป็นสำหรับการสร้าง
เม็ดเลือดแดง  ช่วยให้การเจริญ
เติบโตในเด็กเป็นไปตามปกติ
โรคโลหิตจาง  ประสาทเสื่อม
กรดแอสคอร์บิก
(C)
ผลไม้และผักต่างๆ เช่น มะขามป้อม ผลไม้จำพวกส้ม มะละกอ ฝรั่ง กล้วยน้ำว้า       มะเขือเทศ คะน้า กะหล่ำปลี
ทำให้หลอดเลือดแข็งแรง
ช่วยรักษาสุขภาพ
ของฟันและเหงือก
โรคเลือดออกตามไรฟัน
หลอดเลือดฝอยเปราะ
เป็นหวัดง่าย

แร่ธาตุ (mineral) เป็นสารอนินทรีย์ที่ร่างกายจำเป็นต้องมีอยู่ในระดับที่เหมาะสมจึงจะสามารถทำงานได้ แร่ธาตุยังเป็นส่วนประกอบของสารหลายชนิดที่มีความสำคัญต่อการทำหน้าที่ของเซลล์และอวัยวะ  แร่ธาตุแต่ละชนิดมีความจำเป็นต่อการทำงานของร่างกายแตกต่างกันและมีอยู่ในแหล่งอาหารต่างชนิดกัน ดังแสดงในตารางต่อไปนี้
ตาราง แสดงแหล่งอาหาร ความสำคัญและผลของการขาดแร่ธาตุบางชนิด
แร่ธาตุ
แหล่งอาหาร
ความสำคัญ
ผลจากการขาด
แคลเซียม
นม  เนื้อ ไข่ ผักสีเขียวเข้ม
สัตว์ที่กินทั้งเปลือกและกระดูก เช่น กุ้งแห้ง ปลา
เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระดูกและฟัน ช่วยในการแข็งตัวของเลือด  ช่วยในการทำงานของประสาทและกล้ามเนื้อ
เด็กเจริญเติบโตไม่เต็มที่    ในหญิงมีครรภ์จะทำให้ฟันผุ
ฟอสฟอรัส
นม เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว
ผักบางชนิด เช่น เห็ดมะเขือเทศ
ช่วยในการสร้างกระดูกและฟัน
การดูดซึมคาร์โบไฮเดรต
การสร้างเซลล์ประสาท
อ่อนเพลีย
กระดูกเปราะและแตกง่าย

ฟลูออรีน
ชา อาหารทะเล
เป็นส่วนประกอบของสารเคลือบฟัน  ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ป้องกันฟันผุ
ฟันผุง่าย
แมกนีเซียม
อาหารทะเล
ถั่ว นม ผักสีเขียว
เป็นส่วนประกอบของเลือด และกระดูก ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
เกิดความผิดปกติของระบบ
ประสาทและกล้ามเนื้อ
โซเดียม
เกลือแกง ไข่ นม
ควบคุมปริมาณน้ำในเซลล์
ให้คงที่
เกิดอาการคลื่นไส้
เบื่ออาหาร ความดันเลือดต่ำ
เหล็ก
ตับ เนื้อสัตว์ ถั่ว ไข่
ผักสีเขียว
เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์บางชนิดและฮีโมโกลบิน
ในเม็ดเลือดแดง
โลหิตจาง  อ่อนเพลีย
ไอโอดีน
อาหารทะเล  เกลือสมุทร
เกลือเสริมไอโอดีน
เป็นส่วนประกอบของฮอร์โมนไทรอกซิน ซึ่งผลิตจาก
ต่อมไทรอยด์
ในเด็กทำให้สติปัญญาเสื่อม  ร่างกายแคระแกรน ในผู้ใหญ่
จะทำให้เป็นโรคคอพอก

น้ำ (water) เป็นสารอาหารที่เป็นส่วนประกอบของเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกาย ช่วยในการนำของเสียออกจากร่างกายและช่วยในการควบคุมอุณหภูมิ  ร่างกายได้รับน้ำโดยการดื่มน้ำและจากอาหาร
ในอาหารแต่ละชนิดอาจมีสารอาหารองค์ประกอบหลายอย่าง ยกตัวอย่างเช่น ข้าว มีคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบหลัก แต่ก็มีทั้งโปรตีน ลิพิด วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำอยู่ด้วยในปริมาณเล็กน้อย ทั้งนี้อาหารต่างชนิดกันจะมีส่วนประกอบของสารอาหารต่างกัน ทั้งชนิดและปริมาณ